วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ขายเกม The Lord of the Rings - The Battle for Middle Earth
สั่งซื้อได้ที่เว็บหลัก คลิ๊ก
ความต้องการของระบบ
Windows XP or Windows 2000
- 1.3 GHz Intel Pentium IV or AMD Athlon processor
- 256 MB RAM
- Nvidia GeForce2 or equivalent video card with 64 MB RAM
- DirectX 9.0b compatible sound card
- 4 GB available hard disk space
นำพาเหล่าฮีโร่และกองทัพในตำนานแห่งอภินิหารแหวนครองพิภพ บุกตะลุยดินแดน MIDDLE-EARTH ฝ่าภารกิจ 25 ด่านที่จำลองมาจากภาพยนตร์ไตรภาค THE LORD OF THE RINGS ในรูปแบบเกม RTS ที่ไม่เคยมีใครกล้าทำมาก่อน... ชะตากรรมของ MIDDLE-EARTH อยู่ในมือของคุณ
ณ เมือง Minas Tirith ขณะที่ Gandalf กำลังเตือนชาว Gondor ถึงภัยอันตรายที่กำลังมาถึง แต่ยังไม่ทันขาดคำดี กองทัพของ Mordor ก็ได้รุกเข้าประชิดกำแพงเมือง จากนั้นก็เริ่มยิงถล่มเมืองด้วย Trebuchet ทำให้กำแพงเมืองเริ่มพังทลาย ส่วนอีกด้านหนึ่งเหล่า Orc ก็พยายามทำลายประตูเมืองเข้ามา และดูเหมือนมันจะทำได้สำเร็จซะด้วย ท่ามกลางสถานการณ์ที่สิ้นหวังนี้ เหล่าทหารม้าแห่ง Rohan ก็มาช่วยได้ทันเวลา และเข้าโจมตีขับไล่ทหารแห่ง Gondor ในสงครามครั้งสุดท้ายของ Middle-Earth...
เปล่า! ผมไม่ได้นำเรื่องจากในหนังภาคที่ 3 ของ The Lord of The Rings มาเล่าให้ฟังแต่อย่างใด แต่นี่เป็นสิ่งที่ผมเห็นจากใน Trailer ของเกม RTS ตัวล่าสุดของภาพยนตร์ระดับมหากาพย์เรื่องนี้ต่างหาก ถ้าคุณรู้สึกว่าที่ผมเล่ามันคล้ายกับที่เห็นในหนังมากละก็คุณไม่ได้เข้าใจผิดหรอก เพราะ The Battle for Middle-Earth เป็นเกมที่ถ่ายทอดอารมณ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ออกมาได้มากที่สุด ผมจึงได้รีบนำข้อมูลชุดล่าสุด (และคงจะเป็นชุดสุดท้าย) ของเกมนี้มาให้คุณได้รับรู้ เพื่อที่ว่าคุณจะได้เตรียมตัวรับการมาของมันในเดือนพฤศจิกายนนี้ได้ทัน
ระบบการเล่นของเกมคงเป็นอะไรที่เกมเมอร์ส่วนใหญ่ตั้งข้อสงสัยว่า ตกลงมันจะออกมาอย่างไรกันแน่? เพราะเท่าที่ดู เกมนี้มีเสกลของการสู้รบที่ใหญ่กว่าเกม RTS ปกติทั่วๆ ไปแล้วเราจะบังคับยังไง? จะเอายูนิตมาจากไหน? จะต้องมีการสร้างฐานไหม? แล้วทรัพยากรล่ะเก็บกันแบบไหน? ตอนนี้คำถามส่วนใหญ่ได้คลี่คลายแล้ว (ส่วนบางอย่างก็ยังคลุมเครือเล็กน้อย)
เริ่มแรกเลยการควบคุมในเกมนี้จะเน้นการควบคุมยูนิตเป็นกลุ่มมากกว่าที่จะมาเอาเมาส์ค
ลิกสั่งทีละตัว เพราะว่าเกมนี้มีจำนวนยูนิตในฉากต่อสู้จำนวนมหาศาลเหลือเกินคุณคงไม่อยากที่จะมานั่ง
คลิกเมาส์ให้ยูนิตทีละตัวแน่ๆ (คุณสามารถทำอย่างนั้นได้ แต่ผมแนะนำว่าอย่าดีกว่า) อินเตอร์เฟสของเกมก็จะไม่เหมือนกับในเกม RTS ทั่วๆ ไป ปุ่มคำสั่งต่างๆ ของเกมจะประกอบด้วยรูปทรงกลม 2 อันมาวางต่อกัน (ทางทีมงานฝ่ายศิลป์ได้บอกว่าได้แรงบันดาลใจจากลูกแก้วที่ Saruman ใช้ในหนัง) ลูกทางซ้ายจะเป็นส่วนแสดงแผนที่ ปุ่มคำสั่งของระบบ และจำนวนทรัพยากรที่เรามีอยู่ ทางขวาจะเป็นรูปของยูนิตที่เราเลือกและความสามารถของยูนิตนั้นว่ามีความสามารถพิเศษอ
ะไรบ้าง
บอกลาอินเตอร์เฟสแบบกล่องที่กินเนื้อที่ด้านล่างหรือด้านขวาของจอแบบเดิมๆ ไปได้เลย อินเตอร์เฟสของเกมนี้มีขนาดกะทัดรัดมาก ใช้เพียงพื้นที่มุมซ้ายล่างของจอเพียงเล็กน้อยเท่านั้นก็เอาอยู่ เพื่อให้คนเล่นได้เสพย์อรรถรสในการชมการต่อสู้ให้มากที่สุดทาง EA เลยตัดสินใจออกแบบมันให้มีขนาดเล็กเพื่อที่จะได้มีพื้นที่แสดงผลได้มากขึ้นนั่นเอง
แล้วส่วนของการสร้างฐานและเก็บทรัพยากรล่ะ เกมนี้จะเป็นอย่างไร? จะมีเหมือนเกมอื่นหรือเปล่า? คำตอบคือมี แต่จะใช้แนวคิดที่ต่างออกไป คุณอย่าได้มองหาเลย ไม่ว่าจะเป็น Dozer หรือ Peasant มันไม่มีแล้วยูนิตคนงานสำหรับสร้างฐานน่ะ เกมนี้เมื่อคุณตั้งฐานจะมีตำแหน่งที่ตั้งของอาคารต่างๆ มาให้ คุณแค่คลิกลงไปบนพื้นที่เหล่านั้นก็จะมีเมนูป๊อปอัพเล็กๆ โผล่มาให้เลือกว่าคุณจะสร้างอะไร คุณก็แค่เลือกสิ่งที่คุณอยากสร้างบนตำแหน่งนั้นเท่านั้นก็เรียบร้อย อย่างไรก็ดีตำแหน่งเหล่านี้มีจำกัด ดังนั้นคุณต้องคิดให้ดีก่อนที่จะสร้าง เพราะถ้าคุณสร้างสิ่งก่อสร้างอย่างใดอย่างหนึ่งเยอะไปมันก็อาจจะไม่เหลือที่พอสำหรับ
สร้างสิ่งก่อสร้างอื่น
นอกจากนี้สิ่งก่อสร้างบางอย่างยังสามารถที่จะอัพเกรดระดับได้ เมื่อทำการอัพเกรดแล้วมันก็จะสามารถทำอะไรได้หลายอย่างมากขึ้น เช่นสร้างยูนิตได้หลายชนิดคือ สามารถสร้างยูนิตระดับเดิมได้ในราคาที่ถูกลง อัพเกรดอาวุธที่รุนแรงขึ้น มีชุดเกราะหรือโล่ที่ดีกว่าเก่า เป็นต้น
ในส่วนของการเก็บทรัพยากรเกมนี้ก็มีทางเลือกให้ทำหลายอย่าง อย่างเช่นว่าไปปล้นเอาจากศัตรู หรือสร้างอาคารสำหรับผลิตทรัพยากรจำพวกฟาร์ม โรงฆ่าสัตว์ หรือโรงถลุงเหล็ก แต่ละฝ่ายก็มีทรัพยากรที่ต้องการและวิธีการผลิตทรัพยากรไม่เหมือนกัน การเลือกว่าจะสร้างทรัพยากรอะไรมีผลต่อยูนิตที่เราสามารถจะสร้างได้
ยกตัวอย่างเช่นถ้าเราเล่นฝ่าย Gondor แล้วเน้นสร้างฟาร์มเยอะๆ เราก็จะสามารถสร้างยูนิตทหารราบได้ในราคาที่ถูกลงแต่อาจจะสร้างยูนิตอาวุธหนักไม่ได้
แต่ถ้าเราเน้นสร้างโรงถลุงเหล็กเราก็จะสามารถสร้างยูนิตอาวุธหนักได้แล้วคุณภาพของอา
วุธของยูนิตอย่างเช่นพลธนูจะรุนแรงขึ้น (จนถึงขั้นธนูไฟ) แต่ค่าใช้จ่ายในการสร้างก็จะมากขึ้นด้วย จะเห็นได้ว่าชนิดของสิ่งก่อสร้างที่เราสร้างจะกำหนดแทคติคในการเล่นของเราได้ด้วย ถ้าเราเลือกแบบแรก เราจะได้กองทัพจำนวนมหาศาลแต่คุณภาพต่ำ แต่ถ้าเลือกแบบสองเราจะได้กองทัพที่ห้าวหาญแต่จำนวนอาจจะน้อยไปนิด สิ่งนี้เพิ่มความหลากหลายในการเล่น และการวางแทคติคของผู้เล่นได้เยอะขึ้นมาก
ในส่วนของฝ่ายมืดอย่าง Mordor และ Isengard จะต้องการทรัพยากรในการสร้างยูนิตน้อยกว่าฝ่ายดีแต่ก็มีทรัพยากรพิเศษที่ต้องใช้ด้วย
เหมือนกันนั่นคือไม้ ปัญหามันอยู่ที่ว่าโรงตัดไม้มักจะอยู่ไกลออกไปจากตัวฐานของเรา และเป็นพื้นที่เปิดโล่งทำให้ง่ายต่อการถูกโจมตี แน่นอนว่าคุณจะต้องวางแผนการใช้ไม้ให้ดีๆ ไม่งั้นจะลำบากได้ คุณจะต้องคิดว่าเมื่อไหร่ถึงจะไปตัดไม้ ตอนไหนที่ยังไม่ต้องการใช้ไม้ สิ่งนี้เป็นหนึ่งในสิ่งทีทีมงานใส่เข้ามาเพื่อให้ผู้เล่นได้ใช้หัวคิดในการวางแผน เพื่อที่เกมจะได้มีความท้าทายมากขึ้นนั่นเอง
อย่างที่หลายคนทราบเกมนี้ใช้เอนจิ้นของ C&C General ในการพัฒนา ซึ่งในเรื่องของการแสดงผลกราฟิก แฟนๆ ของ C&C คงไม่มีข้อสงสัยใดๆ เพราะ General เคยป็นหนึ่งในเกม RTS ที่มีกราฟิกงดงามที่สุดในยุคก่อนหน้านี้ ซึ่งเท่าที่ผมเห็นจาก Trailer ทางทีมงานของ EA ได้ทำการปรับแต่ง Engine ตัวนี้ในหลายจุดเพื่อที่จะเอามาใช้ใน Battle For Middle-Earth เพราะใน General ยูนิตในเกมส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรที่มีการเคลื่อนไหวเพียงไม่กี่จุด แต่สำหรับเกมนี้ยูนิตเกือบทั้งหมดเป็นสิ่งมีชีวิตซึ่งมีอนิเมชันการเคลื่อนไหวที่หลา
กหลายกว่า เช่นการขี่ม้า การฟันดาบ ยิงธนู ฯลฯ ทางทีมพัฒนาจึงต้องปรับแต่ง Engine ตัวเก่งของพวกเขาเพื่อให้สามารถรองรับอนิเมชันเหล่านี้ได้
ตัวอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปจากที่มีใน General ก็อย่างเช่น ในเกมนี้ยูนิตบินจะไม่ได้มีการบินแบบเครื่องบินใน C&C ยูนิตอย่าง Fell-Beast จะใช้การกระพือปีกเพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ เหล่าโปรแกรมเมอร์ต้องปรับปรุงโปรแกรมให้การกระพือปีกของ Fell- Beast เคลื่อนไหวสอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของมัน อย่างเช่นในการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าก็จะใช้การกระพือปีกแบบปกติ แต่เมื่อมันต้องการเปลี่ยนระดับความสูงอย่างเคลื่อนที่สูงขึ้นหรือลดระดับลงก็ต้องกร
ะพือปีกอีกแบบหนึ่งอะไรทำนองนี้
อีกส่วนที่ทีมงานได้ปรับปรุงเพิ่มเติมจาก Engine ตัวเก่าคือการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างยูนิตและสภาพแวดล้อม ยูนิตบางอย่างเช่น Troll และ Ent จะสามารถเอาสิ่งของที่อยู่ในฉากมาเป็นอาวุธได้ อย่างเช่นต้นไม้ และก้อนหิน หรือแม้แต่ยูนิตของพวกเดียวกันหรือศัตรูก็สามารถเอามาเป็นอาวุธได้เหมือนกัน ในฉากหนึ่งของ Trailer จะเห็น Nazgul ที่ขี่ Fell- Beast บินเข้าไปจับทหารม้าของ Rohan ขึ้นมาบนฟ้าแล้วทิ้งลงมาเพื่อโจมตีข้าศึกที่อยู่ข้างล่างเหมือนกับที่คุณเห็นในภาพยน
ตร์ไม่มีผิดเพี้ยน ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าฟีเจอร์เหล่านี้จะทำให้ผู้เล่นได้รับประสบการณ์ในการเล่นที่แตกต่
างจากเกมอื่นอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อนอย่างแน่นอน
ทีมงานของ EA ได้เอาใจใส่ในทุกรายละเอียดของเกมเพื่อที่จะให้เกมออกมามีอารมณ์ความสมจริงเหมือนที่
ดูในหนังทุกประการ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันยูนิตแต่ละตัวในเกม RTS จะเป็นเหมือนหุ่นยนต์ที่ไร้ชีวิตชีวา ไม่ว่าจะรบแพ้รบชนะมันก็ไม่แสดงอาการยินดียินร้ายให้คุณเห็น เพื่อให้ได้อารมณ์ร่วมราวกับเราได้ไปอยู่ในสถานที่นั้นในเกมนี้ทาง EA เลยสร้างให้ตัวละครทุกตัวมีอารมณ์ความรู้สึกได้
คุณอยากรู้ไหมว่าทหารกล้าแห่ง Gondor จะรู้สึกอย่างไรเมื่อต้องเผชิญหน้ากับ Mountain Troll ถ้าเป็นในเกม RTS ทั่วๆ ไปแม้จะเห็นยักษ์ใหญ่สูงเกือบ 6 เมตรเหวี่ยงท่อนซุงแทนกระบองหวดใส่สหายศึกครึ่งโหลปลิวหายไปในอากาศ ทหารกล้าเหล่านั้นก็ยังคงดาหน้าลุยเข้าไปเพื่อที่จะปลิวหายกลับมาอีกเป็นแน่ แต่สำหรับเกมนี้พอเห็นเพื่อนๆ ปลิวละล่องเท่านั้นแหละทหารกล้าก็กล้ากันไม่ออก ต่างคนต่างกลัวกันจนหัวหดเลย แถมอาการที่แสดงออกของแต่ล่ะคนก็ไม่เหมือนกันอีกต่างหาก ที่ผมเห็นส่วนใหญ่จะวิ่งหนีมาตั้งหลักใหม่ บางคนหลบอยู่หลังโล่ชี้ปลายดาบไปยัง Troll ทั้งที่ตัวยังสั่นๆ บางคนก็ทำใจดีสู้เสือ (Troll ) ยืนตั้งท่าเตรียมพร้อมประจันหน้ากับเจ้ายักษ์ (แน่นอนว่าคนพวกนี้แหละที่จะปลิวเป็นรายต่อไป)
อีกฉากหนึ่งในเดโมจะเป็นฉากที่เห็นทัพทหารกล้าแห่ง Gondor ยืนประจันหน้ากับกองทัพ Orc จำนวนหยิบมือ แน่นอนว่า Orc จำนวนจิ๊บจ้อยนี้ไม่สามารถต้านทานความกล้าหาญของเหล่าทหารกล้าได้แน่นอน ถ้าเป็นเกม RTS แบบเดิมๆพอฆ่าพวก Orc หมดแล้วก็หมดกันก็แค่นั้น สิ่งที่เราจะเห็นหลังเสร็จศึกก็แค่ทหารของ Gondor ยืนสงบนิ่งไว้อาลัยให้กับเหล่า Orc น้อยที่น่าสงสาร แต่ใน Battle for Middle-Earth จะไม่เป็นอย่างที่ว่า พอพวกทหารแห่ง Gondor สังหารพวก Orc หมดแล้วก็จะดีใจโห่ร้องราวกับได้เหรียญทองโอลิมปิก ไม่เพียงเท่านั้นก่อนที่จะทำการเข้าห้ำหั่นกันก็จะมีการตะโกนปลุกใจและยั่วยุกันและก
ันอีกด้วย
ทาง EA ยังได้โชว์ความสามารถในการตอบโต้ต่อเหตุการณ์เฉพาะหน้าของแต่ละยูนิตให้เราดูอีกด้วย
ตัวอย่างเช่นฉากหนึ่งที่มีต้นไม้เดินได้อย่างพวก Ent เดินเข้าไปถล่มฐาน Orc แต่ก็โดนพวก Orc ยิงธนูไฟใส่จนตัวติดไฟ Ent ตนนั้นก็จะหาแหล่งน้ำที่ใกล้ที่สุดแล้วโดดลงไปแช่น้ำดับไฟ แล้วหลังจากนั้น Ent ที่แช่น้ำจนตัวเปียกโชกพอโดนธนูไฟก็ไม่ติดไฟอีก
หรืออีกตัวอย่างนึง Oliphant ที่เดินเข้าไปถล่มเมืองของพวกมนุษย์ก็โดนตอบโต้ด้วย Catapult ทำให้ Oliphant ตัวนั้นแตกตื่นวิ่งพล่านไปทั่วจนควบคุมไม่ได้ (ฉากนี้คุ้นๆนะ) นอกจากนั้นยังพยายามสลัดคนนั่งที่อยู่บนหลังมันให้ตกไปอีกด้วย
นอกจากนี้เรายังสามารถจัดกลุ่มของยูนิตต่างๆ เข้าด้วยกันแล้วจัดแผนการวางตำแหน่งของยูนิตได้ ตัวอย่างหนึ่งที่ได้นำมาแสดงให้ดูคือการวางตำแหน่งพลธนูของ Gondor ล้อมรอบด้วยทหารราบ โดยจุดประสงค์ก็เพื่อให้ทหารราบทำการปกป้องพลธนูจากการถูกยูนิตข้าศึกเข้าปะทะโดยตรง
ในขณะที่พลธนูก็ทำหน้าที่ตัดกำลังพลทหาร Orc ก่อนที่จะเข้าปะทะกับกองทหารราบนั่นเอง
เป็นที่แน่นอนแล้วว่าในเกมจะมีฝ่ายต่างๆให้คุณเลือกเล่น 2 ฝ่ายหลัก 4 ฝ่ายย่อย โดยฝ่ายหลักแบ่งเป็นฝ่ายสว่างกับฝ่ายมืด (Good และ Evil) ในแต่ล่ะฝ่ายก็จะแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายย่อยคือ Gondor กับ Rohan ของฝ่ายดี และฝ่ายผู้ร้ายก็จะมี Isengard และ Mordor ซึ่งแต่ล่ะฝ่ายก็จะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป
ฝ่าย Gondor จะมีจุดเด่นที่ทหารราบ และความสามารถในการป้องกันฐานที่สูง (ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดมากนัก) ส่วน Rohan ก็แน่นอนว่าต้องเน้นไปที่ยูนิตทหารม้า Rohirrim อันเลื่องชื่อนั่นเองรวมถึงมือธนูอีกหลายประเภททั้งของ Rohan, Yeoman และ Elf พ่วงด้วยยูนิตรุ่นเฮฟวี่ต้นไม้ยักษ์ Ent ส่วนฝ่ายมืดจะมีจุดเด่นที่ยูนิตราคาถูกประเภท Orc และนักรบชั้นสูงขึ้นไปเช่น Uruk Hai, Beserker จนไปถึงยูนิตขับขี่อย่าง Wrag Rider ของฝ่าย Isengard ส่วนฝ่าย Mordor ก็จะมียูนิตขนาดใหญ่ Troll กับ Oliphant
ลูกเล่นที่ EA ใส่มามีอยู่จุดหนึ่งซึ่งน่าสนใจคือ ทหารถือธงประจำกองรบ (Banner Carrier) ซึ่งจะส่งผลต่อยูนิตทหารใต้ร่มเงาธงบังคับบัญชา ทำให้ฟื้นฟูพลังชีวิตโดยอัตโนมัติ เพิ่มเลเวล ช่วยเสริมกำลังรบเพิ่มเติม ลูกเล่นถัดมาคือฮีโร่ของแต่ล่ะฝ่าย ซึ่งจะมีพลังพิเศษให้ใช้แตกต่างกันไป มีทั้งความสามารถในการทำลายข้าศึก (เช่นความสามารถในการเรียกอสูรไฟ Barlog มากลางฐานข้าศึกแล้วอาละวาดให้ย่อยยับ) และความสามารถในการสนับสนุนการรบ (เช่นเพิ่มความเร็ว พลังทำลายล้างข้าศึก) พลังพิเศษของฮีโร่ในเกมนี้ทำหน้าที่คล้ายๆ กับ General Power ของ C&C General ก็คือเมื่อใช้พลังพิเศษแล้วฮีโร่คนนั้นก็จะต้องสะสมพลังจนกว่าจะใช้ครั้งต่อไปได้อีก
ตัวอย่างเช่น ความสามารถเรียกกองทัพคนตายของ Aragon ที่จะเรียกเหล่าคนตายมาทำลายกองทัพของ Orc ให้สิ้นซาก Theoden แห่ง Rohan มีความสามารถในการนำทัพเพิ่มพลัง อานุภาพการรบ และความแกร่งของเกราะให้เหล่าทหารใต้อาณัติ Theoden มีพลังพิเศษ Golden Charge สามารถปล่อยพลังทำลายทุกสรรพสิ่งรอบๆ ข้างจนมอดม้วยไม่มีเหลือ (ใช้ได้ครั้งเดียวแล้วต้องรอชาร์จใหม่จนกว่าพลังนี้จะฟื้นจนเต็ม) เขายังมีความสามารถในการขับขี่ม้าหรือจะให้ลงจากอานมาลุยบนดินก็ได้
Eomer เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหอก รวมถึงกองทัพม้าที่อยู่ในรัศมีบังคับบัญชาจะได้รับโบนัสเพิ่มขึ้นจากการสังหารศัตรู แต่การใช้พลังพิเศษของเขาต้องให้เหมาะกับสถานการณ์เพราะคุณเลือกใช้ได้ครั้งเดียว ในขณะที่ฮีโร่ของฝ่ายอธรรม (หรือคุณจะเรียกว่าหัวหน้าโจรก็แล้วแต่) ก็มีพ่อมดขาว Saruman ซึ่งมีคาถาในการศึกทั้งในการทำลายศัตรู เพิ่มความเร็วให้กับยูนิตฝ่ายตัวเอง รวมไปถึงมนตร์มืดควบคุมจิตของข้าศึกให้มาเป็นพวก หรือ Lurtz ผู้นำของ Uruk Hai ซึ่งเก่งทั้งดาบและหน้าไม้ กล่าวกันว่า Lurtz มีไว้ต่อกรกับฮีโร่ฝ่ายธรรมมะโดยเฉพาะเลยทีเดียว นอกจากนี้กองกำลังที่มี Lurtz นำทัพยังเพิ่มความสามารถด้านการลอบเร้น ยากที่ข้าศึกจะมองเห็นตัว ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งซึ่งจะทำให้เกมมีความลึกในการวางแผนมากขึ้น
ในส่วนของการเล่นคนเดียวก็จะให้ผู้เล่นได้เล่นผ่านสมรภูมิชื่อดังเหมือนที่ดูในหนังเ
ช่น Minas Tirith และ Helm’s Deep เบ็ดเสร็จถึง 25 ฉาก (ซึ่งบางฉากทาง EA บอกไว้ว่าไม่มีอยู่ในภาพยนตร์ชุดไตรภาค) แต่ในส่วนของโหมดการเล่นหลายคนก็ยังไม่มีข้อมูลอยู่ดีว่าจะมีการเล่นแบบไหนบ้าง อย่างไรก็ดีแค่โหมดผู้เล่นคนเดียวอย่างเดียวก็คงทำให้แฟน LOTR ประทับใจจนน้ำลายสอกันไปหลายยกแล้วนะผมว่า
ขายเกม The Lord of the Rings - The Battle for Middle Earth ขายเกม pc ThepGame.com ขายเกมคอม ไม่ต้อง Crack
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น